อาหารหลังคลอดก็ไม่ได้แตกต่างจากอาหารที่คุณแม่รับประทานขณะตั้งครรภ์สักเท่าไหร่ ช่วงเวลาที่คุณแม่รับประทานอาหารขณะตั้งครรภ์ ก็จะคิดถึงลูกในท้องว่าควรจะได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เมื่อลูกคลอดออกมาแล้วก็ยังคงเป็นเช่นนั้น เพราะอาหารที่คุณแม่รับประทานจะแปรเปลี่ยนออกมาเป็นน้ำนมให้ลูกนั่นเอง
ฉะนั้นหัวใจสำคัญของการเลือกทานอาหารหลังคลอดก็ควรจะเป็นอาหารตามหลักโภชนาการครบทั้ง 5 หมู่ ใช้วัตถุดิบที่สด ผ่านกระบวนการการปรุงที่สะอาดและสุกทั่วถึง
รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ หรือจะเพิ่มมื้อสายเข้าไปด้วยก็ได้ ยังไม่ต้องกังวลว่าจะลดไม่ลงเพราะคุณแม่ต้องใช้พลังงานในการเลี้ยงลูกอีกมาก ไม่ควรงดอาหารต่างๆในช่วงนี้
เพิ่มเมนูอาหารที่มีสรรพคุณเรียกน้ำนม เช่น แกงเลียง แกงหัวปลี น้ำขิงอุ่น ปลา ผัดขึ้นฉ่าย ไก่ผัดขิง ดื่มน้ำอุ่นมากๆ จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมได้ดีขึ้น และขณะที่คุณแม่ให้นมร่างกายจะสูญเสียน้ำถึงวันละ 700 มิลลิกรัม จึงควรดื่มน้ำเข้าร่างกายเพื่อไปชดเชยให้เพียงพอ
ตัวอย่างเมนูแม่หลังคลอด : ปลานึ่งซีอิ๊วใส่ขิง ราดหน้าปลาเต้าซี่ ผัดถั่ว ลันเตาใส่กุ้ง ข้าวต้ม ข้าวกล้องเนื้อปลา แกงจืดเต้าหู้ขาวใส่สาหร่าย กล้วยบวชชี มันต้ม น้ำขิง ฟักทองต้มนึ่ง ผลไม้สดต่างๆ ฯลฯ
"ถ้าน้ำคาวปลากลับมามีสีแดงใหม่หลังจากที่สีจางไปแล้ว หรือมีกลิ่นเหม็น คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจให้ละเอียดอีกครั้งเพราะอาจมีเศษรกค้างอยู่ในมดลูกหรือเกิดอาการติดเชื้อในมดลูกก็เป็นได้"
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
1.อาหารที่มีรสจัดและกลิ่นฉุน เช่น ยำรสจัด หัวหอม เพราะอาจทำให้ลูกไม่สบายท้องได้
2.อาหารหมักดอง กาแฟ ชา น้ำอัดลม แอลกอฮออล์(สามารถผ่านทางน้ำนมได้)
3.อาหารที่ผ่านการปรุงด้วยผงชูรส ซุปก้อน ผงปรุงรส สี และสารปรุงแต่งต่างๆ เช่น กุนเชียง ลูกชิ้น ไส้กรอก (ถ้าผลิตภัณฑ์นั้นไม่มีแหล่งผลิตที่ชัดเจน ไม่ควรรับประทานเลย)
4.ถ้าจะรับประทานยาควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพราะยาบางอย่างอาจจะส่งผ่านไปทางน้ำนมแม่ได้
ขอขอบคุณ : นิตยสาร littlebabies